วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทความ เรื่องโลกของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร


โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัย ในด้านกระบวนการคิด สร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สสวท. ดังนั้น สสวท. จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนต่าง ๆ โดยมีโรงเรียนระดับปฐมวัยที่ได้ใช้แนวทางของโครงการเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ” ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าว
กิจกรรม   “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?” เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม
กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย  เป็นต้น

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวต่อไปว่า “ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้คือประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ ปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การได้เข้าใจโลกในมุมกว้าง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น