สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์
ผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปี
Effects of organizing science activities based on constructivist approach on science process skills of six to seven tears old children
Authors: ปุณย์จรีย์ กัมปนาทโกศล
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร |
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
ครุศาสตรมหาบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปี ใน 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 6-7 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์จำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ จำนวน 34 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ขอบเขตการวิจัย
1.ประชากร คือเด็กอายุ 6-7 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
1.1 มีการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา
1.2 เป็นโรงเรียนที่มีการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา และเผยแพร่สู่วงการศึกษาของประเทศ
2.ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที
3ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้นคือ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ
3.2 ตัวแปรตาม ตือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ
-ทักษะสังคม
-ทักษะการวัด
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการลงความเห็น
เครื่องมือ
แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผลการทดลอง
หลังจากจักกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
พบว่า
กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
ผลการทดลอง
หลังจากจักกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
พบว่า
กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น